วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชะคราม


ชะคราม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อพื้นเมือง: ชะคราม
ชื่อท้องถิ่น: ผักชักคราม
วงศ์ CHENOPODIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุก หรือ ไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ราก มีรากงอกบริเวณข้อระดับต่ำ ลำต้น ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่มแผ่กระจาย แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผล ที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะมีเนื้อ ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ใบอวบน้ำ สีเขียว สำหรับต้นที่ขึ้นบริเวณแห้งแล้ง แดดจัดมีสีเขียวอมม่วง ดอกสมบูรณ์เพศ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ช่อดอก ยาว 3 - 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับที่อยู่ระดับต่ำมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปที่ปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวมมี 2 - 3 ใบ รูปขอบขนานมน โปร่งใส มีผลึกเกลือเกาะตามผิวและติดทน วงกลีบรวมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.2 เซนติเมตร สีเขียว หรือ สีเขียวอมม่วง ผล มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.3 เซนติเมตร

ลักษณะเด่น ใบเดี่ยวมีขนาดเล็ก ดอก ผล ขนาดเล็กมาก

นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด หรือ พบทั่วไปบริเวณดินเค็มที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรือ มักพบในพื้นที่ราบโล่งที่เป็นดินเลน และดินที่มีความเค็มสูง ทนแล้ง และความเค็มได้ดีออกดอก - ผลตลอดปี

ประโยชน์ ต้นมีรสเค็มเย็นกินขับปัสสาวะ แก้หนองใน รักษารากผม แก้ผมพิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น