วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พุงดอ


พุงดอ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Azima sarmentosa (Blume) Benth.
ชื่อพื้นเมือง : พุงดอ
ชื่อท้องถิ่น : หนามพุงดอ
วงศ์ SALVADORACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 – 2.5 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ลำต้น แตกกิ่งก้านมากห้อยลู่ลงปลายกิ่งสัมผัสพื้นดิน มีหนามแหลมตามซอกใบ 2 อัน ยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือ รูปไข่กลับ กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 8 เซนติเมตร เนื้อใบหนา สีเขียวสดและเป็นมัน ดอก ดอกออกเป็นช่อ อยู่ที่ปลายยอด ซอกใบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ สีเหลือง อับละอองเรณู 4 อัน ผล ผลมีเมล็ดแข็ง เมล็ดมี 1 เมล็ ใน 1 ผล เป็นรูปทรงกลม แข็ง

ลักษณะเด่น ใบรูปไข่กลับ มีหนามตามข้อใบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน

นิเวศวิทยา พบตามริมน้ำ ที่ชื้นแฉะ แนวป่าชายทะเลทั่วไป

ประโยชน์ รากแก้บวม แก้ลม แก้พิษฝีตานซาง ดับพิษทั่วไป ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ ร้อนใน แก้องคชาติที่บวมร้อนและอักเสบ ทำให้ยุบบวม แก้ลมตานซาง ใช้ฝนกับสุราทาแก้คางทูมเปลือกและต้น แก้พิษประดงผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย หนาม แก้ฝีประคำร้อย แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ

1 ความคิดเห็น: