วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พังกาหัวสุมดอกขาว


พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น : ประสักดอกขาว
วงศ์ RHIZOPHORACEA

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก ลำต้น โคนต้นมีพูพอนสูง กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้งเหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง ผิวเปลือกหยาบมีตุ่มขาว เป็นจุดประตลอด ลำต้น แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อยมีเฉพาะที่พูพอน เปลือกสีเทาเข้มถึง สีน้ำตาลอมเทา ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี ขนาด 3 - 6 X 8 - 16 เซนติเมตร ปลายใบและฐานใบแหลม เส้นใบ 7 - 11 คู่ ก้านใบยาว 1 - 5 เซนติเมตร หูใบยาว 4 - 10 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน หรือเ ขียว ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเดี่ยวตามง่ามใบยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.6 - 1.5 เซนติเมตร สีเขียว กลีบเลี้ยง 10 - 12 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือ เขียวอมเหลือง หรือ เขียวอมชมพู หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร มีสัน กลีบดอกเป็นเหลี่ยม ยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร สัมผัสรู้สึกสาก ขอบกลีบมีขนสีขาว ผล รูปคล้ายลูกข่างยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก”รูปซิการ์ ขนาด 1 - 1.5 X 5 - 10 เซนติเมตร มีเหลี่ยมเล็กน้อย โคนสอบทู่ สีเขียว
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มของเรือนยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ผลเป็นเหลี่ยม ผิวไม่เรียบ สัมผัสด้วยมือรู้สึกสาก

นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายถัดเข้าไปจากแนวโกงกางใบเล็ก บนพื้นที่ดินค่อนข้างแข็ง เหนียว และ น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ หรือ เขตป่าชายเลนที่มีความเค็มของน้ำค่อนข้างต่ำ ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี

ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เสาโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่

หมายเหตุ พังกาหัวสุมดอกขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีขาว ฝักคล้ายรูปซิการ์ แตกต่างจากพังกาหัวสุมดอกแดงที่มีกลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว กลีบดอกสีแดงอมชมพู ฝักคล้ายรูปกระสวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น