วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หวายลิง


หวายลิง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Flagellaria indica L.
ชื่อพื้นเมือง: หวายลิง
ชื่อท้องถิ่น: หวายลิง
วงศ์ FLAGELLARIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งยาว 3 - 5 เมตร หรือ บางต้นยาวได้ถึง 10 เมตร ราก ระบบรากฝอย ลำต้น แข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 - 0.8 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5 - 2 X 7.5 - 20 เซนติเมตร ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแยกแขนง สั้นๆที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ผลมี 1 เมล็ด

ลักษณะเด่น ลำหวายมีข้อปล้องสั้น ผลมีลักษณะกลมก้นแหลม พบมากบนจอมแม่หอบ

นิเวศวิทยา. หวายลิงพบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง พื้นที่ค่อนข้างสูง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว ออกดอก – ผล ตลอดปี

ประโยชน์ ลำต้นเหนียวใช้ทำเชือก และทำเครื่องจักรสาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น