วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มะแว้งเครือ


มะแว้งเครือ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Solanum trilobatum L.
ชื่อพื้นเมือง: มะแว้งเครือ
ชื่อท้องถิ่น: มะแว้ง
วงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1 - 2 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ยึดลำต้น ลำต้น เล็ก สีเขียว มีหนามแหลมคมตลอดลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ ขนาด 3 - 5 X 4 - 6 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าตื้นๆ 2 - 5 หยัก ผิวใบมีหนามเล็กๆตามเส้นกลางใบ สีเขียวด้านหลังใบ สีเข้มกว่าด้านท้องใบ ดอก เป็นช่อกระจุก ตามซอกใบ ช่อละ 2 - 6 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก สีม่วง เกสรเพศผู้ ติดบนหลอดกลีบดอก 5 อัน สีเหลืองสด เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ มีเม็ดไข่มาก ยอดเกสรเพศเมีย ยื่นยาวกว่า เกสรเพศผู้เล็กน้อย ผล ผลอ่อนสีเขียวขนาดเล็กกว่าผลมะเขือพวง มีลาย ผลแก่ หรือ สุกเป็นสีแดงสด ข้างในมีเมล็ดแบนๆจำนวนมาก ผลมีรสขม

ลักษณะเด่น กลีบดอกสีม่วง ผลสุกเป็นสีแดงสด

นิเวศวิทยา พบขึ้นตามที่ทิ้งร้างกลางแจ้ง ริมทางเรือกสวน การเกษตรทั่วไป ขึ้นได้ทั้งที่แห้งและ ที่เป็นดินชื้นแฉะหรือดินที่มีความเค็ม
ประโยชน์ รากใช้เป็นยาแก้ไอ ขับลม ขับปัสสาวะ ผลใช้ทั้งผลดิบและผลสุกเป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเสมหะแก้ไอ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และเป็นน้ำกระสาย ยากวาด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น