วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปรงทะเล


ปรงทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acrostichum aureum L.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ปรงไข่
วงศ์ PTERIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พื้นล่าง สูง 1 – 3 เมตร พืชพวกเฟิน สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ราก ระบบรากฝอย บริเวณโคนต้นมีรากค้ำยัน ลำต้น เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ ใบ ลักษณะใบยาว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ขนาด 30 - 60 X 60 - 180 เซนติเมตร ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ หรือรูป ใบหอก ขอบเรียบ ขนาด 4 - 8 X 30 - 50 เซนติเมตร มี 15 - 30 คู่ เรียงสลับ ผิวเรียบเป็นมัน ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบกลม ถึงหยักเว้า และมีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่มถึงมนกลม สองข้างไม่เท่ากัน เส้นกลางใบนูนเด่น เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของ อับสปอร์เรียงตัวชิดกัน เต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อยที่ปลายยอด สีน้ำตาล

ลักษณะเด่น ใบยาว ใบประกอบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลายใบกลม หรือ ตัด มีติ่งหนาม

นิเวศวิทยา มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ด้านหลังป่าชายเลน หรือ พื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ชายคลอง บริเวณดินเลน

ประโยชน์ ยางจากต้นใช้ทาแผล หรือ ฝีเพื่อดูดหนอง และดับพิษ หัวฝนผสมน้ำข้าวสารทาแก้เริม ต้มพอกแผลที่มีอาการบวมฟกช้ำดำเขียว หัวปรงกับหัวว่าวและหัวจากตำเข้าด้วยกัน ใส่น้ำ ใช้ทาแผลแก้เริม งูสวัด ใบอ่อนสีแดงใช้เป็นอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น