วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ถอบแถบน้ำ


ถอบแถบน้ำ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Derris trifoliata Lour.
ชื่อพื้นเมือง: ถอบแถบน้ำ
ชื่อท้องถิ่น: ถอบแถบทะเล
วงศ์ FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย. ไม้เลื้อย ไม้เถา ยาว 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว มีรากฝอยช่วยหยั่งยึดดินโคลน ลำต้น ขนาดเล็ก สีน้ำตาล มักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน กิ่งเรียวยาว ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ก้านใบยาว 10 - 15 เซนติเมตร มีใบย่อย 1 - 2 คู่ และที่ปลาย อีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือ รูปหอก ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 7 เซนติเมตร โคนมนโค้ง เส้นใบ 8 - 10 คู่ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยงสีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรด้านข้าง ช่อเดี่ยวออกตามง่ามใบ ช่อดอก ยาว 5 - 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร สีขาว ผล เป็นฝัก เบี้ยว แบน เล็กรูปขอบขนาน คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง ขนาด 2 X 2.5 เซนติเมตร มี 1 เมล็ด เมล็ดรูปไตยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร

ลักษณะเด่น ต้นเป็นเถา มีลักษณะเหนียวใช้แทนเชือกได้

นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ ขึ้นตามฝั่งแม่น้ำ และพื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล ออกดอกระหว่างเดือนพฤกษาคม - ธันวาคม

ประโยชน์ ต้น ราก และ ใบนำมารับประทานเป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ถ่ายเสมหะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น