วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหงือกปลาหมอดอกขาว


เหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อพื้นเมือง: เหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น: เหงือกปลาหมอทะเล
วงศ์ ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่กิน 1 - 1.5 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และ รากอากาศ เกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น อวบ มีหนามคล้ายกับเหงือกปลาหมอดอกม่วงมาก ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้ามสลับฉาก แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 – 5 X 7 – 16 เซนติเมตร จากกลางใบกว้าง และเรียวสอบทางฐานใบ ขอบใบกว้างหยักตื้น มีหนามประปราย ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงลด ช่อดอกมีขนาดไม่แน่นอน ใบประดับ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง จะร่วงไปก่อนระยะดอกบาน มีใบประดับย่อยในระยะแรก แต่จะร่วงหล่นเร็วซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างไปจากเหงือกปลาหมอดอกม่วง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ขณะดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน ดอกบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 2.5 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน เป็นแบบยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนคอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่เป็นแบบ รังไข่เหนือวงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง เม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ผล ผลแก่ สั้นกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งสั้นกว่าผลของเหงือกปลาหมอดอกม่วง เมล็ดมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 0.7 เซนติเมตร

ลักษณะเด่น สีของต้นบริเวณยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลอ่อน และดอกสีขาว

นิเวศวิทยา ขึ้นในบริเวณน้ำกร่อย - จืด จะไม่พบในเขตน้ำเค็มจัด ออกดอก - ผล ตลอดปี

ประโยชน์ รากและต้นต้มอาบแก้พิษไข้ ผื่นคันโรคผิวหนังทุกชนิด ถ้าใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษฝีดาษ และฝีทั้งปวง รากต้นสดตำให้ละเอียดเอาฟอกปิดหัวฝีหรือแผลเรื้อรังถอนพิษได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น