เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Wedelia biflora (L.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อท้องถิ่น: ผักคราดทะเล
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปหอก ขนาด 2 - 3.5 X 4.5 - 8 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้าย ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้นจากโคนใบ ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อแบบกระจุกแน่น เบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยว บนปลายก้านช่อตามง่ามใบ ใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1 - 7 เซนติเมตร ดอกเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร สีเหลือง ผล ผลแห้งรูปไข่กลับ ยาว 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ทอดยอดคลุมพื้นดิน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกสีเหลือง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่รวมกัน พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ ออกดอกเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Wedelia biflora (L.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อท้องถิ่น: ผักคราดทะเล
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปหอก ขนาด 2 - 3.5 X 4.5 - 8 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้าย ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้นจากโคนใบ ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อแบบกระจุกแน่น เบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยว บนปลายก้านช่อตามง่ามใบ ใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1 - 7 เซนติเมตร ดอกเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร สีเหลือง ผล ผลแห้งรูปไข่กลับ ยาว 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ทอดยอดคลุมพื้นดิน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกสีเหลือง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่รวมกัน พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ ออกดอกเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น