1 เซลล์ผิวใบมีหนังหนา เป็นแผ่นมัน และมีปากใบ (stoma) อยู่ทางผิวใบด้านล่าง ลักษณะเช่นนี้พบในพืชทุกชนิดในป่าชายเลน ซึ่งมีหน้าที่สำหรับป้องกันการระเหยของน้ำจากส่วนของใบ
2 มีต่อมขับเกลือ (salt glands) พบอยู่ทั่วไปในส่วนของใบ เช่นใบแสม ลำพู ลำแพน และเหงือกปลาหมอ เป็นต้น ทำหน้าที่ควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืชโดยขับเกลือส่วนเกินออกจากส่วนของใบ
3 ใบมีลักษณะอวบน้ำ (succulent leaves) โดยเฉพาะพืชพวกโกงกาง (Rhizophora) ลำพู และลำแพน (Sonneratia) ซึ่งเป็นลักษณะที่ช่วยเก็บรักษาน้ำจืด
4 มีรากหายใจ (pneumatophores) พบในพืชเกือบทุกชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีรากหายใจลักษณะต่างกันไป เช่น แสม มีรากหายใจโผล่จากดิน ส่วนโกงกาง รากหายใจแทงออกจากต้นลงดิน เพื่อช่วยค้ำยันลำต้นอีกด้วย (ภาพที่ 1)
A.
B.
C.
D.
ภาพที่ 1 ระบบรากหายใจของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบางประเภท
A. สกุลไม้โกงกาง (Rhizophora type) B. สกุลไม้แสม (Avicennia type)
C. สกุลไม้ประสัก (Bruguiera type) D. สกุลไม้ตะบูน (Xylocarpus type)
5 มีผลงอกขณะติดอยู่บนลำต้น ที่เรียกว่า vivipary ตัวอย่างเช่น ในโกงกาง 1 ดอก มีรังไข่ (ovary) 1 อัน และมีโอวุล (ovule) 4 อัน แต่มีเพียงโอวุลเดียวที่เจริญเป็นเมล็ด ซึ่งเมล็ดของพืชนี้ไม่มีการพักตัว แต่จะเจริญทันทีขณะผลยังติดบนต้นแม่ จัดเป็น viviparous seed เพราะส่วนของต้นอ่อน (embryo) ในเมล็ดจะงอกส่วนของรากอ่อน (radicle) แทงทะลุออกมาทางปลายผลตามด้วยส่วนของ hypocotyl ซึ่งจะยืนยาวออกกลายเป็นฝักยาว 1 - 2 ฟุต เมื่อฝักแก่เต็มที่จะหล่นปักเลนโคนต้น หรือลอยไปตามกระแสน้ำ ต่อมาจะงอกรากและเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป นอกจากโกงกางแล้ว ยังมีไม้ถั่ว พังกาหัวสุม โปรง ต้นจาก เล็บมือนาง และแสม คือ พบผลหรือฝักหลุดจากต้นแม่แล้ว ทำให้สามารถเจริญเติบโตทาง ด้านความสูงอย่างรวดเร็ว สามารถชูขึ้นเหนือน้ำได้ในระยะสั้น
6 ต้นอ่อนหรือผลแก่ลอยน้ำได้ ทำให้สามารถแพร่กระจายพันธุ์โดยทางน้ำได้ดี พบในพืชเกือบทุกชนิดในป่าชายเลน
7 มีระดับสารแทนนิน (tannin) ในเนื้อเยื่อสูง ซึ่งการปรับตัวนี้อาจจะเกิดขึ้นเพื่อการป้องกันอันตรายจากพวกเชื้อราต่างๆ
8 สามารถทนทานได้ ในสภาวะที่ระดับความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในใบสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น